C o l l a g e  A r t

ศิ ล ป ะ ติ ด ป ะ ต่ อ

วันนี้อยากพาเพื่อนๆ มาทำความรู้จักกับงานศิลปะประเภทหนึ่งที่เดี๋ยวนี้เราจะพบเห็นได้บ่อยขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานจากศิลปิน งานนิทรรศการ แบรนด์เสื้อผ้า กระเป๋า ภาพประกอบบทความตามเว็บไซต์ โซเชียล หรือโฆษณาต่างๆ

จึงขอหยิบยกงาน Collge Art หรือที่เรียกกันบ้านๆ ว่า ศิลปะตัดแปะ มาให้ทำความรู้จักกัน (ใหม่) จ้า

🙂 เอาล่ะ ไปลุยกันเลยย

Collage (คอลลาจ) เป็นศิลปะของการตัดแปะโดยการใช้เทคนิค การตัดแปะ ซึ่งจะใช้ ส่วนของหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือเศษผ้า กระดาษ รูปภาพ สารพัดสิ่งที่หาได้ ติดทั้งหมดลงไปบนกระดาษหรือผ้าใบและยังอาจผสมได้กับเทคนิคอื่นๆ ของการเขียนภาพเช่น skatch หรือ painting

ลักษณะงาน Collage มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ก่อน ค.ศ. 200 ปี แต่เพิ่งมาเป็นที่นิยมในศตวรรษที่ 19 โดยรู้จักกันในรูปแบบของศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) 

เทคนิค Collage มีหลักฐานและที่มาย้อนไปตั้งแต่เริ่มมีการใช้กระดาษที่ประเทศจีนและญี่ปุ่น ใช้การตัดกระดาษและแปะลงไปในชิ้นงานด้วยกาวแล้วเขียนบทกวีลงไป ส่วนในยุโรปก็มีการใช้เทคนิคนี้ในการตกแต่งโบสถ์โกธิค โดยใช้โลหะที่มีค่าแปะลงไปในชิ้นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับศาสนา

.

.

.

ผลงาน Collage Art จากศิลปินชาวต่างชาติ

งานคอลลาจภาพบ้านที่ตัดมาจากหนังสือและนิตยสารต่างๆ

– Cornelis Hoek –

Paper Collage สีสันสวยฉูดฉาด

– Morgana Wallace –

“ศิลปะข้ามพรมแดนจากตูลูสฝรั่งเศส – สู่กรุงเทพฯ และแม่ริมเชียงใหม่” 

– คีโด้ กู้ดเฮีย –

งานคอลลาจสไตล์มินิมัลสีสันสดใส ผสมสไตล์เซอร์เรียลและป็อปอาร์ต

– EveryEvery –

– Jeanne Teolis –

หากพูดถึงศิลปิน Collage ของไทยแล้ว ขอบอกเลยว่าฝีมือแต่ละคนไม่ใช่เล่นๆ บางคนอาจดูคุ้นหน้าคุ้นตาผลงานของพวกเค้าตามสื่อ หรือโซเชียลมีเดียมาบ้าง หรืออาจจะต้องร้องอ๋อ… ว่านี่คือผลงานของคนไทยเองเหรอ ? ตามไปดูกันเลยดีกว่า ว่าจะเป็นใคร !!!

.

.

.

ศิลปิน Paper Art เจ้าของผลงาน Artquarium ที่คว้ารางวัล Gold จากเวที Cannes Lions 2016 นักตัดกระดาษฝีมือฉมัง ที่จรดปลายมีดและบรรจงตัดกระดาษออกมาได้อย่างละเอียดละออสุดๆ เมื่อได้เห็นแล้วต่างต้องตกหลุมรักในงานของคุณบัวไปตามๆ กัน ซึ่งชิ้นส่วนของกระดาษที่ตัดออกมาแม้จะมีขนาดที่เล็กมากๆ แต่เมื่อนำมา ปะติดปะต่อ เข้าด้วยกันแล้ว กลับกลายเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่และมีความหมายมากเหลือเกิน จุดเด่น คือ การตัดกระดาษด้วยมือ (handmade only) ที่ค่อยๆ บรรจงกรีด ตัด ฉลุกระดาษ เป็นลวดลายที่มีรายละเอียดยิบย่อย ผสมผสานกับภาพวาดลายเส้น รูปภาพ หรือภาพจากนิตยสาร นอกจากการตัดกระดาษแล้ว เสน่ห์ของงานอีกอย่างหนึ่งก็คือ การทับซ้อนของกระดาษที่ทำให้งานดูมีมิติ 🙂

ผลงาน Artquarium คว้ารางวัล Gold จากเวที Cannes Lions 2016

ศิลปินที่ละลายความเป็นไทยเข้ากับศิลปะตะวันตกผ่านงานคอลลาจ และให้นิยามความเป็นไทยในรูปแบบใหม่ นักทำภาพประกอบหน้าใหม่ที่อยู่ๆ ก็ดังเป็นพลุแตก ด้วยผลงานที่เป็นเอกลักษณ์และไม่เหมือนใครของเขา ทำให้เป็นที่ถูกอกถูกใจในหมู่วัยรุ่น ศิลปินรุ่นใหม่ และวงการศิลปะ นักรบ คือ ศิลปินหนุ่มรุ่นใหม่ที่มีความคิดเปิดกว้างและสร้างสรรค์ เขามีมุมมองที่สนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยและยังชอบตัดภาพสวยๆ แปลกๆ เก็บสะสมเอาไว้ตั้งแต่สมัยเรียนคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความไม่เข้ากันแต่เข้ากัน มีอารมณ์ขัน แอบจิกกัด เสียดสีนิดๆ องค์ประกอบภาพที่ทุกอย่างล้วนลงตัวไปหมด มาจากการ ปะติดปะต่อ เรื่องราว ทำให้คุณนักรบขึ้นมาเป็นศิลปิน Collage อันดับต้นๆ ของไทย จุดเด่น คือ การผสมผสานความแตกต่างและนำเสนอได้อย่างน่าสนใจ รสนิยมการจัดวางองค์ประกอบและการใช้สีที่มีเอกลักษณ์ การเลือกใช้ภาพ ผูกเป็นเรื่องราวและมีความหมาย จึงทำให้งานของเขาดูโดดเด่นเป็นที่สุด เพราะสามารถจับความเป็นไทยให้เข้ากับอะไรก็ได้ในโลกใบนี้ 🙂 Credit : https://www.adaymagazine.com/articles/port-4

วัฒนธรรมตัดแปะ โดย นักรบ มูลมานัส

นักออกแบบภาพประกอบปกที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างหลากหลาย อีกหนึ่งนักทำภาพประกอบที่มีผลงานโดดเด่นดูอินเตอร์สุดๆ จนแทบไม่เชื่อว่าเป็นฝีมือของศิลปินไทยนี่เอง ด้วยเทคนิคที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป คุณปลายเลือกหยิบใช้ได้อย่างเหมาะสมไปตามเรื่องที่อยากจะสื่อสาร ผลงานของคุณปลายสามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างหลากหลาย ทั้งอ่อนหวานบริสุทธิ์ ไปจนถึงอารมณ์หม่นหมอง ผ่านการเลือกใช้สี เส้นสายเล็กๆ และเทคนิคอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำโมโนปรินต์ คอลลาจ ปัก หรือว่าการขูดขีดให้เกิดร่องรอย จุดเด่น คือ การใช้เทคนิคที่หลากหลายในการสร้างสรรค์ผลงาน สามารถสื่อถึงอารมณ์ได้อย่างชัดเจน งานของเธอบอกเล่าเรื่องราวได้อย่างเยี่ยมยอด การสร้าง Hand-Drawn Texture หลายๆ แบบลงบนกระดาษและนำมาสร้างเป็นรูปทรงง่ายๆ ด้วยการขูดขีด สะบัดสี การพับให้เกิดรอย ระบายด้วยสีไม้หรือสีน้ำ งานของเธอจึงมีชีวิตชีวา มีความเคลื่อนไหว ด้วยเทคนิคที่ปราดเปรื่องและฝีมือ ทำให้เธอเป็นที่สนใจสำหรับชาวต่างชาติมากๆ ไม่แปลกว่า... ทำไมผลงานของคุณปลายถึงเดินทางไปได้ไกล 🙂 Credit : https://www.adaymagazine.com/articles/port-yodchat-bupasiri

ชวนมาดูการทำงานของคุณปลาย Yodchattinyline

.

.

.

ได้มาทำความรู้จักกับศิลปิน Collage  แล้วเห็นผลงานของพวกเขากันแล้ว ข้าน้อยขอซูฮก… จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นศิลปินต่างชาติหรือศิลปินไทย เราจะเห็นได้ว่าแต่ละคนนั้นมีไอเดีย มีเทคนิคและสไตล์ที่แตกต่างกันออกไป สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันนั้นคือ คอลลาจ การปะติดปะต่อนั่นเอง 

หากเพื่อนๆ อยากรู้จักใครเป็นพิเศษมากกว่านี้ สามารถติดตามศิลปินที่ชื่นชอบได้ทางช่องทางโซเชียล หรือลองไปค้นหาบทสัมภาษณ์เพิ่มเติมได้ค่ะ

.

.